หน้าแรก คำถามที่ถามบ่อย เกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่กองทุน การสรรหา คพรฟ. และ คพรต.
คำถามที่ถามบ่อย เกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่กองทุน การสรรหา คพรฟ. และ คพรต.
 
1
หลักการตั้งชื่อกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศจะพิจารณาจากอะไร?
แยกตามโรงไฟฟ้า และให้ต่อท้ายด้วยชื่อของโรงไฟฟ้า หรือชื่อตำบล หรือชื่ออำเภอ หรือชื่อจังหวัดที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่
2
ผมอยากทราบว่าหากมีพื้นที่ประกาศทักซ้อนกันเนื่องจากโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้กันจะต้องดำเนินการอย่างไรกับพื้นที่ประกาศดังกล่าว?
รวมพื้นที่ประกาศเข้าด้วยกันก็ได้ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ประกาศเป็นสำคัญ
3
กรณีตำบลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ประกาศ หากมีความต้องการที่จะได้รับผลประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจะต้องดำเนินการเช่นไร?
(1) ให้ คพรฟ. หรือประชาชนในพื้นที่ประกาศเป็นผู้เสนอโครงการชุมชนผ่านการประชาคมหมู่บ้านหรือตำบลในพื้นที่ประกาศเข้าสู่การพิจารณาของ คพรฟ. เพื่อจัดทำเป็นแผนงานประจำปีเสนอต่อ กกพ.
(2) ให้ คพรฟ. นำเสนอผลการศึกษาผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าเพื่อประกอบการพิจรารณาของ กกพ. เป็นรายกรณีไป (ตามมติ กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 16/2556 (ครั้งที่ 218))
4
กองทุนประเภท ก. และประเภท ข. กำหนดให้มี คพรฟ. คณะหนึ่งมีจำนวนเท่าใด และจะต้องประกอบด้วยผู้แทนจากไหนบ้าง?
จำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน และสูงสุดไม่เกิน 35 คน ประกอบด้วย ผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนภาครัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีผู้แทนภาคประชาชนไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมด
5
การสรรหาผู้แทนภาคประชาชนของ คพรฟ. จะดำเนินการเช่นไร?
(1) คัดเลือกผู้แทนระดับหมู่บ้าน โดยจัดให้มีการประชาคมหมู่บ้านทุกหมู่บ้านในแต่ละตำบลของพื้นที่ประกาศเพื่อคัดเลือกผู้แทนหมู่บ้าน ทั้งนี้ ให้มีจำนวนผู้แทนเท่ากันทุกหมู่บ้าน
(2) คัดเลือกผู้แทนระดับตำบลเพื่อเป็นกรรมการใน คพรฟ. โดยให้ผู้แทนจากหมู่บ้านในข้อ (1) แสดงวิสัยทัศน์ประกอบการคัดเลือกผู้แทนระดับตำบล
6
วาระในการดำรงตำแหน่งของกรรมการ คพรฟ. มีระยะเวลาเท่าไร และสามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้กี่วาระ?
วาระในการดำรงตำแหน่งของกรรมการ คพรฟ. จำนวน 4 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
7
ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนดสองปี กรรมการ คพรฟ. ในส่วนของภาคประชาชนจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวนเท่าใดและออกโดยวิธีใด?
คพรฟ. ในส่วนของภาคประชาชนออกจากตำแหน่งจำนวนกึ่งหนึ่ง โดยวิธีจับฉลาก ซึ่งสำนักงาน กกพ. ประจำเขตพื้นที่รับผิดชอบดำเนินการกำหนดวัน เวลา สถานที่จับฉลาก และจัดทำประกาศพร้อมกับประชาสัมพันธ์โดยให้ปิดประกาศ ณ ที่กำการกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือที่ว่าการอำเภอ หรือเทศบาล หรือสำนักงานเขต เพื่อให้ประชาชนทราบ
8
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้กี่วาระ
ตามข้อ 19 ของระเบียบ กกพ. ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ คพรฟ. คราวละสี่ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับประกาศแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน แต่ไม่ให้ใช้บังคับกับกรรมการผู้แทนภาครัฐ ดังนั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจึงมีวาระในการดำรงตำแหน่งสี่ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับประกาศแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
9
กรณี คพรฟ. หรือ คพรต. ที่ดำรงตำแหน่งในวาระที่ 1 มาแล้ว และได้รับคัดเลือกเข้ามาอีกสมัยเป็นวาระที่ 2 แต่ขอลาออกก่อนที่จะครบวาระ จะถือว่าดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันหรือไม่ และจะสามารถกลับเข้าเป็น คพรฟ. หรือ คพรต. สมัยต่อไปได้หรือไม่
ตามข้อ 19 วรรคแรก ของระเบียบ กกพ. ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 กำหนดว่า กรรมการ คพรฟ. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับประกาศแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน และตามข้อ 20(2) ของระเบียบ กกพ. ดังกล่าว นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ กรรมการ คพรฟ. จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อลาออก ดังนั้น แม้ว่าจะลาออกก่อนครบวาระก็ถือว่าพ้นจากตำแหน่งในคราวของวาระที่ดำรงตำแหน่ง จึงถือว่าได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันทำให้ไม่สามารถกลับเข้าเป็น คพรฟ. สมัยต่อไปได้
ในส่วนของ คพรต. กรณีดังกล่าวเป็นไปตามข้อ 31 วรรคแรก และข้อ 32(2) ของระเบียบ กกพ. ดังกล่าวข้างต้น
10
คพรต. อื่นๆ ได้ขอลาออกก่อนครบวาระในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง (วันที่ได้รับแต่งตั้งจนกระทั่งวันที่ขอลาออก) จะนับเป็นการดำรงตำแหน่งไปแล้ว 1 วาระหรือไม่
ตามข้อ 31 วรรคหนึ่ง และข้อ 32(2) ของระเบียบ กกพ. ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 กำหนดให้ กรรมการ คพรต. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน และนอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ กรรมการ คพรต. จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อลาออก ดังนั้น การลาออกก่อนครบวาระถือเป็นการพ้นจากตำแหน่งในคราวของวาระที่ดำรงตำแหน่ง จึงนับเป็นหนึ่งวาระ
11
เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี จะมี คพรฟ. ภาคประชาชนจำนวนกึ่งหนึ่งครบวาระ หากรองประธานภาคประชาชนยังอยู่ในวาระ เมื่อดำเนินการสรรหา คพรฟ. ภาคประชาชนมาใหม่ทดแทนที่ครบวาระ จะต้องดำเนินการคัดเลือกรองประธานภาคประชาชนใหม่หรือไม่
ตามข้อ 19 ของระเบียบ กกพ. ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 กำหนดว่า กรรมการ คพรฟ. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับประกาศแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกันความในวรรคนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับกรรมการผู้แทนภาครัฐ ดังนั้น เมื่อกรรมการ คพรฟ. ภาคประชาชน ที่ดำรงตำแหน่งรองประธานภาคประชาชนยังไม่พ้นจากตำแหน่ง จึงไม่มีเหตุที่จะต้องดำเนินการคัดเลือกรองประธาน ภาคประชาชนคนใหม่แต่อย่างใด
12
ประเด็นการจัดประชุมเพื่อเสนอรายชื่อและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรณีผู้แทนภาคประชาชนที่ได้รับคัดเลือกซึ่งยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) จะเข้าร่วมประชุม คพรฟ. ได้หรือไม่
ตามข้อ 16 ของระเบียบ กกพ. ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 กำหนดให้ “ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการผู้แทนภาคประชาชนและผู้แทนภาครัฐจัดประชุมเพื่อเสนอรายชื่อและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามจำนวนที่ กกพ. กำหนด” ซึ่งการประชุมดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการประชุม คพรฟ. ดังนั้น ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการผู้แทนภาคประชาชนที่ยังไม่ได้แต่งตั้งเป็น กรรมการ คพรฟ. สามารถเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอรายชื่อและคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้
13
ประเด็นการจัดประชุมเพื่อเสนอแนะรายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งรองประธาน คพรฟ.
ถึงแม้ว่าการแต่งตั้งประธาน รองประธาน และกรรมการอื่น เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกพ. ตามข้อ 18 ของระเบียบ กกพ. ว่าด้วยกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า พ.ศ. 2553 กำหนดว่า “ เมื่อดำเนินการสรรหา คพรฟ. ครบทุกภาคส่วนแล้ว ให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานนำเสนอรายชื่อ คพรฟ. ทั้งคณะที่ได้รับการสรรหา ต่อ กกพ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งประธาน และรองประธานจำนวนไม่เกินสองคน และกรรมการอื่น” อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาแต่งตั้งดังกล่าว กกพ. จะรับฟังความเห็นของผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนภาครัฐ และผู้ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ฝ่ายสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 4 (ขอนแก่น) สามารถเสนอบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งดังกล่าว เห็นควรให้ ฝ่ายสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 4 (ขอนแก่น) สอบถามความคิดเห็นของผู้ได้รับการสรรหาเป็น คพรฟ. ทุกภาคส่วนก่อนที่จะเสนอแนะรายชื่อผู้มีความเหมาะสมต่อเลขาธิการเพื่อเสนอ กกพ. ต่อไป
หน้าแรก
กองทุนมาตรา 97(3)
  • ความเป็นมา
  • ประเภทของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กรอบการจัดสรรเงินกองทุน
  • ประเภทของการบริหารกองทุน
  • การสรรหา คพรฟ./คพรต.
  •     - ที่มาของ คพรฟ.
        - ที่มาของ คพรต.
        - ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา
        - เวทีประชาสัมพันธ์ระดับตำบล
        - เวทีประชาคมหมู่บ้าน
        - เวทีประชุมตำบล
        - ภาพการสรรหาคณะกรรมการกองทุน
  • การสรรหาผู้แทน กองทุน ค
  • ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  •     - รายละเอียดของแต่ละกองทุน
    การจัดทำแผนงานประจำปี
  • การจัดทำแผนงานประจำปี ของ คพรฟ.
  •     - การจัดทำแผนงานประจำปี
        - การสำรวจความต้องการของประชาชน
        - ประเภทโครงการชุมชนที่สามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุน
  • การจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการ
  • การพิจารณาโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน
        - แนวทางการพิจารณาแผนงาน
        - ประเด็นเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึง
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  •     - การจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • การดำเนินโครงการชุมชน
  •     - การจัดทำสัญญารับการสนับสนุน
        - แนวปฏิบัติด้านการเงิน
        - แนวปฏิบัติสำหรับการเบิกจ่ายเงินกองทุน
        - แนวทางการเก็บเอกสารทางการเงิน
        - แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การรับเงินและทรัพย์สิน
  •     - ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับเงินและทรัพย์สิน
    ผลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบฯ
  • พื้นที่ประกาศกองทุน
  •     - หลักการกำหนดพื้นที่ประกาศ
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ก
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ข
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ค
  • คณะกรรมการกองทุน
  •     - คำสั่งแต่งตั้ง คพรฟ.
        - คำสั่งแต่งตั้ง คพรต.
        - ผู้แทน กองทุน ค
  • กรอบงบประมาณ ที่ กกพ. อนุมัติ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการอนุมัติแผนงานฯ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการพิจารณาแผนงานฯ อื่น ๆ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
  • ผลการพิจารณางบประมาณเหลื่อมปี
  •     - กองทุนฯ ประเภท ก
        - กองทุนฯ ประเภท ข
    คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี