หน้าแรก การสำรวจความต้องการของประชาชน
การสำรวจความต้องการของประชาชน
 



ขั้นตอนแรกในการจัดทำแผนประจำปี คือ การสำรวจความต้องการของประชาชนเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ประกาศได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาข้อเท็จจริงในพื้นที่ และความต้องการในการพัฒนา และพิจารณาข้อเสนอโครงการชุมชน คัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญโครงการชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการและสภาพปัญหาของพื้นที่มากที่สุด


ผู้รับผิดชอบในการจัดทำเวทีประชาคม

การสำรวจความต้องการของประชาชนนั้น จะดำเนินการผ่านการจัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านหรือระดับชุมชน โดยในขั้นแรกเป็นการประชุมของ คพรฟ. เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และการมอบหมายงาน ดังนี้ 

ผู้รับผิดชอบในการจัดทำเวทีประชาคมสำหรับกองทุนประเภท ก 

สำหรับกองทุนประเภท ก นั้น เป็นการที่ คพรฟ. มอบหมาย คพรต. ภาคประชาชนของแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล หรือ คพรต. อื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ จัดให้มีเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านหรือระดับตำบลแล้วแต่กรณี เพื่อกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินการในการสำรวจความต้องการของประชาชน

เมื่อได้รับมอบหมายแล้วให้ คพรต. ภาคประชาชนของแต่ละหมู่บ้านหรือตำบล หรือ คพรต. อื่น ๆ ดำเนินการจัดให้มีเวทีประชาคม ตามขั้นตอนที่กำหนดต่อไป



ผู้รับผิดชอบในการจัดทำเวทีประชาคมสำหรับกองทุนประเภท ข 

สำหรับกองทุนประเภท ข ให้ คพรฟ. จัดเวทีประชาคมระดับหมู่บ้าน ชุมชน หรือระดับตำบล เพื่อกำหนดแนวทางและแผนการดำเนินการในการสำรวจความต้องการของประชาชน ในการดำเนินการจัดเวทีประชาคมข้างต้น อาจมอบหมายให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดแทนก็ได้


แนวทางการเตรียมการก่อนจัดเวทีประชาคม

ก่อนการจัดเวทีประชาคม จะต้องมีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร รวมทั้งให้ข้อมูลแก่ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม โดยก่อนการจัดประชุมประชาคมให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการดังนี้ 

  1. นัดหมายประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เข้าร่วมประชาคมเพื่อสำรวจความต้องการของประชาชน โดยอาจประสานขอความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือผู้นำชุมชน เพื่อนำเรื่องการสำรวจความต้องการของประชาชนเป็นวาระเพิ่มเติมในการประชุมประชาคมที่จะจัดขึ้นก็ได้ตามความเหมาะสม
  2. ประชาสัมพันธ์กำหนดวันนัดประชุมประชาคมล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันจัดประชาคม เพื่อชี้แจงขั้นตอนกระบวนการและรูปแบบ ระยะเวลาในการจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชนให้สอดคล้องตามความต้องการของเวทีประชาคม ผ่านทางหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน ปิดประกาศในสถานที่ชุมชน หรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนที่จะเข้าร่วมประชาคมรับทราบและมีการเตรียมตัวก่อนเข้าร่วมประชาคม
  3. ให้ผู้ที่จะเสนอโครงการชุมชน จัดเตรียมข้อเสนอโครงการชุมชนตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนด และนำเสนอต่อเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อให้พิจารณาในการประชุมก็ได้ 


การจัดการประชุมในเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล

การจัดการประชุมในเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เป็นการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนร่วมกันแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในพื้นที่ คัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการ โดยมีขั้นตอนการประชุมดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ประธานหรือผู้ได้รับมอบหมายเปิดการประชุมประชาคมและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเรียกประชุมประชาคม

ขั้นตอนที่ 2 
การรับฟังปัญหาและความต้องการ

  • เปิดให้ที่ประชุมประชาคมร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะปัญหาและความต้องการแก่ที่ประชุม โดยต้องบันทึกทุกปัญหา ความต้องการไว้อย่างโปร่งใส
  • รวบรวมปัญหา ความต้องการทั้งหมดและบันทึก เพื่อให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาแบ่งกลุ่มปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ
ขั้นตอนที่ 3  การร่วมกันพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการชุมชน
  • หากมีผู้ยื่นข้อเสนอโครงการชุมชนก่อนการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล ให้ผู้ที่เสนอโครงการชุมชน นำเสนอรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการชุมชน โดยอธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินโครงการและความจำเป็นในการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ทีละโครงการต่อที่ประชุมประชาคมหมู่บ้านหรือชุมชน
  • หากไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอโครงการชุมชน ก่อนการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล ให้ที่ประชุมประชาคมร่วมกันเสนอโครงการเพื่อแก้ปัญหาและความต้องการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบลโดยแต่ละโครงการที่นำเสนอต้องมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ และมีผู้รับรองหรือมีผู้สนับสนุนอย่างน้อย 15 คน
  • ให้ที่ประชุมประชาคมร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการตามปัญหาและความต้องการ เริ่มจากการพิจารณาว่าเป็นประโยชน์ส่วนตัวหรือส่วนรวม เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ความต้องการ ประโยชน์ คุ้มค่า เงินที่ต้องใช้ และวิธีการแก้ปัญหา เป็นต้น
  • หากโครงการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโครงการที่เสนอภายในเวทีประชาคม โดยที่ยังไม่ได้มีการจัดทำรายละเอียดของข้อเสนอโครงการชุมชนตามรูปแบบที่กำหนด ให้ผู้รับผิดชอบโครงการชุมชนที่ได้รับการคัดเลือก จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการชุมชนเพื่อนำเสนอต่อ คพรต. หรือ คพรฟ. (แล้วแต่ประเภทของการบริหารเงินกองทุน) เพื่อพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติต่อไป

ขั้นตอนที่ 4  ประธานในการประชุมหรือผู้ได้รับมอบหมาย รวบรวมรายชื่อโครงการที่นำเสนอในที่ประชุมประชาคม โดยเรียงลำดับความสำคัญ ตามที่ประชาคมให้การรับรอง และสรุปผลให้ที่ประชุมทราบโดยทั่วกัน

ขั้นตอนที่ 5  ประธานในการประชุมหรือผู้ได้รับมอบหมาย จัดทำบันทึกผลและรายงานผลการประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบลตามรูปแบบที่สำนักงาน กกพ. กำหนด และจัดส่งให้เลขานุการ คพรต. หรือ เลขานุการ คพรฟ. ภายใน 7 วันนับวันประชุมประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อรวบรวมนำเสนอที่ประชุม คพรต. หรือ คพรฟ. ต่อไป

ในการจัดประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบลข้างต้น อาจจะมีการประชุมได้หลายครั้งตามความจำเป็น ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน รวมทั้งจำนวนโครงการชุมชนที่นำเสนอในเวทีประชาคมหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล โดยให้ประธานหรือผู้ได้รับมอบหมายพิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่





หน้าแรก
กองทุนมาตรา 97(3)
  • ความเป็นมา
  • ประเภทของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กรอบการจัดสรรเงินกองทุน
  • ประเภทของการบริหารกองทุน
  • การสรรหา คพรฟ./คพรต.
  •     - ที่มาของ คพรฟ.
        - ที่มาของ คพรต.
        - ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา
        - เวทีประชาสัมพันธ์ระดับตำบล
        - เวทีประชาคมหมู่บ้าน
        - เวทีประชุมตำบล
        - ภาพการสรรหาคณะกรรมการกองทุน
  • การสรรหาผู้แทน กองทุน ค
  • ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  •     - รายละเอียดของแต่ละกองทุน
    การจัดทำแผนงานประจำปี
  • การจัดทำแผนงานประจำปี ของ คพรฟ.
  •     - การจัดทำแผนงานประจำปี
        - การสำรวจความต้องการของประชาชน
        - ประเภทโครงการชุมชนที่สามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุน
  • การจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการ
  • การพิจารณาโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน
        - แนวทางการพิจารณาแผนงาน
        - ประเด็นเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึง
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  •     - การจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • การดำเนินโครงการชุมชน
  •     - การจัดทำสัญญารับการสนับสนุน
        - แนวปฏิบัติด้านการเงิน
        - แนวปฏิบัติสำหรับการเบิกจ่ายเงินกองทุน
        - แนวทางการเก็บเอกสารทางการเงิน
        - แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การรับเงินและทรัพย์สิน
  •     - ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับเงินและทรัพย์สิน
    ผลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบฯ
  • พื้นที่ประกาศกองทุน
  •     - หลักการกำหนดพื้นที่ประกาศ
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ก
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ข
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ค
  • คณะกรรมการกองทุน
  •     - คำสั่งแต่งตั้ง คพรฟ.
        - คำสั่งแต่งตั้ง คพรต.
        - ผู้แทน กองทุน ค
  • กรอบงบประมาณ ที่ กกพ. อนุมัติ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการอนุมัติแผนงานฯ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการพิจารณาแผนงานฯ อื่น ๆ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
  • ผลการพิจารณางบประมาณเหลื่อมปี
  •     - กองทุนฯ ประเภท ก
        - กองทุนฯ ประเภท ข
    คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี