หน้าแรก คำถามที่ถามบ่อย เกี่ยวกับบัญชี
คำถามที่ถามบ่อย เกี่ยวกับบัญชี
 
1
กองทุนมีการจัดซื้อครุภัณฑ์และตรวจรับแล้วเมื่อเดือน ธ.ค. 2555 แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินและไม่ได้บันทึกบัญชีรวมทั้งคำนวณค่าเสื่อมราคา เนื่องจากเป็นช่วงที่เจ้าหน้าที่พัสดุหมดสัญญาจ้าง และมีหลักฐานการจัดซื้อและตรวจรับในเดือน ก.ค. 2556 ซึ่งจะต้องบันทึกรายการบัญชีย้อนหลังในเดือน ธ.ค. 2555 แก้ไขงบการเงินประจำเดือนและงบประจำไตรมาสทั้งหมดหรือไม่
เนื่องจากกองทุนได้ปิดงบการเงินรายเดือนและรายไตรมาส ส่ง กกพ. แล้ว การดำเนินการควรเป็นดังนี้
1. ไม่ควรแก้ไขรายการย้อนหลังเนื่องจากได้ปิดงบการเงินส่ง กกพ. แล้ว
2. ให้รับรู้ค่าซื้อครุภัณฑ์ เมื่อจ่ายเงินค่าครุภัณฑ์ในเดือน ก.ค.2556 โดย
    เดบิต บัญชีครุภัณฑ์...................
             เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
3. ให้จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ โดยคิดค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่ได้ตรวจรับ คือ เดือน ธ.ค. 2555 (เพื่อให้ค่าเสื่อมราคาสะสมมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดการเสื่อมค่าจากการใช้งานตั้งแต่วันที่ตรวจรับแล้ว) ซึ่งบัญชีค่าเสื่อมราคาเดือนแรกที่จะบันทึกในเดือน ก.ค. 2556 จะคิดรวม 8 เดือน โดย
     เดบิต บัญชีค่าเสื่อมราคา-ครุภัณฑ์....................
              เครดิต บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-ครุภัณฑ์....................
2
ค่าเช่ารถยนต์ซึ่งวางบิลทุกๆ วันที่ 15 ของเดือน ต้องปันส่วนรายจ่ายของแต่ละเดือนในการบันทึกค่าเช่าค้างจ่ายของเดือนแต่ละเดือนหรือไม่
เนื่องจากการวางบิลค่าเช่ารถยนต์ได้วางบิลเป็นประจำทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป จึงควรบันทึกเป็นค่าเช่าค้างจ่ายในเดือนผ่านมาทั้งจำนวนโดยไม่ต้องปันส่วน
3
ครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 2 หมื่น ต้องให้รหัสครุภัณฑ์และรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์พร้อมคำนวนค่าเสื่อมราคาด้วยหรือไม่
พัสดุที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี แต่มูลค่าต่ำกว่า 2 หมื่นบาท ถือเป็นครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์
1. ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีค่าครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์โดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคา
2. ให้จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์และให้รหัสครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์
พัสดุที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี แต่มูลค่าตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถือเป็นครุภัณฑ์
1. ให้บันทึกรับรู้เป็นสินทรัพย์และคำนวณค่าเสื่อมราคา
2. ให้จัดทำทะเบียนครุภัณฑ์และให้รหัสครุภัณฑ์
4
การปรับปรุงสำนักงานที่มีครุภัณฑ์อยู่ในงานปรับปรุงด้วยเช่น เครื่องปรับอากาศ ควรบันทึกเป็นส่วนปรับปรุงสำนักงานทั้งจำนวน หรือควรแยกรายการครุภัณฑ์ออกจากส่วนปรับปรุง
1. ควรแยกรายการครุภัณฑ์ว่าเป็นประเภทใด จำนวนเงินเท่าไหร่ เพื่อบันทึกบัญชีเป็นครุภัณฑ์ และคิดค่าเสื่อมราคา พร้อมทั้งให้รหัสครุภัณฑ์และจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์
2. ส่วนปรับปรุงสำนักงานหลังหักรายการครุภัณฑ์ออกแล้ว คงเหลือจำนวนเงินเท่าใดให้บันทึกบัญชีเป็นส่วนปรับปรุงสำนักงานและคิดค่าเสื่อมราคา
5
กรณีการบันทึกบัญชีรับเงินประกันซองจะต้องบันทึกอย่างไร
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับเงินประกันซอง มีดังนี้
เมื่อรับเงินประกันซองเป็นเงินสดหรือเช็ค
เดบิต บัญชีเงินสด / ตั๋วเงินรับ
        เครดิต บัญชีเงินประกันอื่นๆ
เมื่อนำเงินสดหรือเช็คฝากธนาคาร
เดบิต บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
        เครดิต บัญชีเงินสด / ตั๋วเงินรับ
6
การบันทึกค่าจ้างเหมาบริการเจ้าหน้าที่กองทุนค้างจ่าย จะบันทึกเป็นบัญชีเจ้าหนี้อื่นใช่หรือไม่
การบันทึกค่าจ้างเหมาบริการเจ้าหน้าที่กองทุนค้างจ่าย ให้บันทึกเป็นบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น
7
การบันทึกบัญชีการโอนเงินโครงการชุมชนปีงบประมาณ 2555 ซึ่งบันทึกแล้วแต่รายจ่ายไม่ได้ตัดงบประมาณ เนื่องจากสาเหตุใด
การบันทึกบัญชีการโอนเงินโครงการชุมชน ต้องใส่รหัสกิจกรรมด้วย เพื่อให้โปรแกรมอ่านรหัสกิจกรรมและตัดงบประมาณโดยอัตโนมัติ หากเป็นการโอนเงินโครงการชุมชนปี 2555 ต้องใส่รหัสที่นำหน้าด้วย R5 หากเป็นการโอนเงินโครงการชุมชนปี 2556 ต้องใส่รหัสที่นำหน้าด้วย R6
8
การคืนเงินทดรองจ่ายกรณีมีเงินเหลือคืน ถ้าหากนำเงินสดฝากเข้าบัญชีธนาคารก่อน แต่เอกสารการเบิกจ่ายยังไม่เรียบร้อยภายในเดือนที่ได้นำเงินสดฝากเข้าบัญชีไว้ ต้องบันทึกบัญชีอย่างไร
การบันทึกบัญชี มีดังนี้
กรณีคืนเงินเหลือจ่ายเป็นเงินสด ซึ่งต้องออกใบเสร็จรับเงินและบันทึกบัญชีโดย
เดบิต บัญชีเงินสด (ตามจำนวนเงินที่คืน)
        เครดิต บัญชีลูกหนี้เงินทดรองจ่าย (ตามจำนวนเงินที่คืน)
กรณีผู้ยืมคืนเงินเหลือจ่ายโดยนำฝากธนาคารแล้วนำใบนำฝากเงิน (Pay-in) มามอบให้เจ้าหน้าที่การเงิน ซึ่งต้องออกใบเสร็จรับเงินและบันทึกบัญชีโดย
เดบิต บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
        เครดิต บัญชีลูกหนี้เงินทดรองจ่าย
เมื่อผู้ยืมนำเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินมาส่งคืนเงินยืม ไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน แต่ให้เจ้าหน้าที่การเงินลงชื่อรับเอกสารในสัญญายืมเงินและบันทึกบัญชีโดย
เดบิต บัญชีค่าใช้จ่าย....................
     เครดิต บัญชีลูกหนี้เงินทดรองจ่าย
9
กองทุนซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมาใช้งาน จะต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาหรือไม่ และต้องคิดค่าเสื่อมราคากี่ปี และจะต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาในทุกสิ้นเดือน หรือ สิ้นปีครั้งเดียว และต้องใช้เอกสารอะไรในการแนบใบสำคัญทั่วไป
กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมีราคาชุดละตั้งแต่ 20,000.- บาทขึ้นไป
(1) ถือเป็นครุภัณฑ์ ให้บันทึกเป็นค่าครุภัณฑ์ ดังนี้
เดบิต บัญชีครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์
         เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
(2) ต้องคิดค่าเสื่อมราคาทุกสิ้นเดือน ตลอดอายุใช้งาน 3 ปี โดยการบันทึกบัญชีให้จัดทำใบสำคัญทั่วไปแนบด้วยตารางการคำนวณค่าเสื่อมราคา
(3) บันทีกทะเบียนครุภัณฑ์

กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมีราคาชุดละต่ำกว่า 20,000.- บาท
(1) ถือเป็นครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย หมวดค่าครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งจำนวน โดยบันทึกบัญชีดังนี้
เดบิต บัญชีค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์
         เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
(2) ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคา
(3) บันทึกทะเบียนครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์
10
กรณีกองทุนเขื่อนภูมิพลบรรจุเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานประจำกองทุนโดยมีการจ่ายค่าประกันสังคมด้วยจะต้องบันทึกอย่างไร
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าจ้างประจำและเงินประกันสังคม มีดังนี้

เมื่อจ่ายเงินเดือน
 เดบิต บัญชีค่าจ้างประจำ   100
  บัญชีเงินสมทบกองทุนประกันสังคม  4
  เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน  94
     บัญชีเงินรับฝากกองทุนประกันสังคม  8
     บัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด. 1  2
เมื่อนำส่งประกันสังคม
เดบิต บัญชีเงินรับฝากกองทุนประกันสังคม  8
เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน  8
เมื่อนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เดบิต บัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด. 1  2
  เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน   2
11
กรณีกองทุนสั่งจ่ายเช็คเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในนามเจ้าหน้าที่กองทุน เพื่อถอนเงินสดนำส่งให้กรมสรรพากร จะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร
การหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการนำส่งเงินภาษีให้กรมสรรพากร บันทึกบัญชีดังนี้

เมื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
เดบิต บัญชีค่าใช้จ่าย 10,000.-
  เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน  9,900.-
    บัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.... 100.-
เมื่อสั่งจ่ายเช็คในนามเจ้าหน้าที่กองทุน
เดบิต บัญชีลูกหนี้อื่น 100.-
  เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน 100.-
เมื่อนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากร
เดบิต บัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.... 100.-
  เครดิต บัญชีลูกหนี้อื่น 100.-

อนึ่ง กองทุนควรจัดทำทะเบียนคุมเงินภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อควบคุมการจ่ายเช็คนำส่งค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
12
กรณีตั้งค่าโทรศัพท์ค้างจ่ายไว้สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง ณ วันที่จ่ายเช็ค จะบันทึกบัญชีอย่างไร
การบันทึกบัญชี มีดังนี้
ณ วันที่ตั้งค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย (สิ้นเดือน)
เดบิต บัญชีค่าโทรศัพท์
        เครดิต บัญชีค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย
ณ วันที่จ่ายเช็ค
เดบิต บัญชีค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย                                                          
        เครดิต บัญชีค่าโทรศัพท์ (ผลต่างของค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริงกับค่าใช้จ่ายที่ตั้งค้างจ่ายไว้)
                 บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน 
13
การนำส่งงบการเงินประจำไตรมาสให้กับสำนักงาน กกพ. ต้องนำส่งภายในกี่วัน
คู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี (หน้า 70) กำหนดให้กองทุนจัดทำงบการเงินประจำไตรมาส เพื่อนำเสนอต่อเลขานุการ คพรฟ. และจัดส่งรายงานการเงินที่ผ่านการเห็นชอบแล้วให้ฝ่ายบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาส อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาดังกล่าวอาจช้าเกินไปสำหรับการตรวจทานของฝ่ายตรวจสอบภายใน จึงขอให้กองทุนจัดส่งงบการเงินประจำไตรมาสตามที่ฝ่ายบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าแจ้งมา
14
กรณีกองทุนจัดซื้อโปรแกรม Express ซึ่งเป็นครุภัณฑ์ จะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร และคำนวณค่าเสื่อมราคากี่ปี
ต้องบันทึกบัญชีเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และคำนวณค่าเสื่อมราคา 3 ปี โดยบันทึกเป็นค่าตัดจำหน่ายสะสม-โปรแกรมคอมพิวเตอร์
15
กองทุนได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 56 แล้ว และเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 56 กองทุนได้มีการตั้งดอกเบี้ยค้างรับไว้แล้ว อยากทราบว่าในวันที่ 31 ธ.ค. 56 กองทุนจะบันทึกบัญชีอย่างไร
การบันทึกบัญชี มีดังนี้
เดบิต บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (ค่าดอกเบี้ยช่วง ก.ค. - ธ.ค. 2556)
       เครดิต บัญชีดอกเบี้ยค้างรับเงินฝากออมทรัพย์ (ค่าดอกเบี้ยช่วง ก.ค. - ก.ย. 2556)
                บัญชีรายได้ดอกเบี้ยรับจากสถาบันการเงิน (ค่าดอกเบี้ยช่วง ต.ค. - ธ.ค. 2556)
16
ณ วันสิ้นปี 30 ก.ย. 56 กองทุนได้มีการตั้งค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมค้างจ่ายไว้ เนื่องจากได้มีการจัดประชุมแล้วแต่ยังไม่ได้เคลียร์คืนเงินยืมทดรองจ่าย โดย ณ ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ได้นำเงินส่วนที่เหลือและเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินมาเคลียร์เงินยืมทดรองจ่ายแล้ว อยากทราบว่าต้องบันทึกบัญชีอย่างไร
ณ วันที่มีการเคลียร์เงินยืมทดรองจ่าย ให้บันทึกบัญชี ดังนี้
เดบิต บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่น
        เครดิต บัญชีลูกหนี้เงินทดรองจ่าย
ทั้งนี้ หมายเหตุด้วยว่าสัญญายืมเงินเลขที่ใด
17
กองทุนกำลังจะจัดทำงบการเงินประจำเดือน พ.ย. 56 แต่พบว่า ยอดคงเหลือตามงบทดลอง ของบัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย - ตาม ภงด. 3 มียอดคงเหลือทางด้านเดบิต และเป็นยอดเดียวกันกับบัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย - ตาม ภงด. 53 ที่มียอดคงเหลือทางด้านเครดิต ซึ่งกองทุนได้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากร ครบถ้วนแล้ว อยากทราบว่าเพราะเหตุใดงบทดลองจึงแสดงยอดตามที่กล่าวมา
สาเหตุที่งบทดลองของกองทุนมียอดคงเหลือของบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้ง 2 บัญชี ค้างอยู่ในงบทดลอง ทั้งๆ ที่ได้นำเงินภาษีที่หักไว้นำส่งกรมสรรพากรไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากการบันทึกบัญชีคลาดเคลื่อน โดย
(1) เมื่อกองทุนหักภาษีจากบุคคลธรรมดา ได้บันทึกบัญชีคลาดเคลื่อน ไว้ดังนี้
เดบิต บัญชีค่าใช้จ่าย...................
       เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
                บัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย - ตาม ภงด. 53 (ที่ถูกต้อง คือ ภงด.3)
(2) เมื่อกองทุนนำเงินภาษีเงินได้ที่หักไว้ส่งกรมสรรพากร ได้บันทึกบัญชีถูกต้อง ดังนี้
เดบิต บัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย - ตาม ภงด. 3
         เครดิต บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
(3) ผลของการบันทึกบัญชีที่คลาดเคลื่อนดังกล่าวข้างต้น ทำให้มียอดคงเหลือของบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของ ภงด.3 และ ภงด.53 ค้างอยู่ในงบทดลอง ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง จะต้องบันทึกปรับปรุงบัญชี ดังนี้
เดบิต บัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย - ตาม ภงด. 53
        เครดิต บัญชีภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย - ตาม ภงด. 3 
18
กรณีเขียนยอดจำนวนเงินในเช็คผิด โดยเขียนยอดจำนวนเงินสูงไป จะต้องดำเนินการอย่างไร และบันทึกบัญชีอย่างไร
(1) กรณีที่ผู้รับเช็คยังไม่ได้นำไปขึ้นเงิน ควรขอเช็คคืนเพื่อยกเลิกและออกเช็คใหม่ โดยการบันทึกบัญชีให้บันทึกยกเลิกโดยกลับรายการที่บันทึกจำนวนผิด และบันทึกใหม่ด้วยจำนวนเงินที่ถูกต้อง
(2) กรณีผู้รับเช็คนำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารแล้ว ให้บันทึกแก้ไขโดยตั้งผู้รับเช็คเป็นลูกหนี้ด้วยจำนวนเงินผลต่างที่สูงกว่าที่ต้องจ่ายจริง ดังนี้
เดบิต บัญชีลูกหนี้อื่น
        เครดิต บัญชีค่าใช้จ่าย....................
และเมื่อผู้รับเงินนำเงินส่วนที่จ่ายเกินมาคืน ให้บันทึกบัญชี ดังนี้
เดบิต บัญชีเงินสด หรือ เงินฝากออมทรัพย์
        เครดิต บัญชีลูกหนี้อื่น
หน้าแรก
เกี่ยวกับกองทุน
  • แนะนำกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  •     - ความเป็นมา
        - แนวทางในการบริหารกองทุน
        - การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
        - ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบประมาณ
        - การดำเนินงานตามภารกิจของทุนหมุนเวียน
        - โครงสร้างการบริหารของทุนหมุนเวียน
        - คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
        - วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์
        - ภาพรวมแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว และแผนปฏิบัติการประจำปี
        - นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี
        - การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
        - ผลการประเมินการดำเนินงานทุนหมุนเวียน
  • กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  •     - พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
        - ระเบียบ กกพ.
        - ประกาศ กกพ.
        - คำวินิจฉัย ประธาน กกพ.
        - คำสั่ง กกพ.
        - คำสั่ง กกพ. (แต่งตั้งอนุกรรมการ)
        - คำสั่ง อกก.
        - คำสั่งคณะอนุกรรมการประเมินฯ
        - ประกาศ สำนักงาน กกพ.
        - คำสั่ง สำนักงาน กกพ.
        - รวมระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • การกำกับดูแลกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  •     - หน้าที่ความรับผิดชอบ
        - บุคลากรฝ่ายกองทุนฯ
  • แบบสำรวจความพึงพอใจ
  • ติดต่อสอบถาม
  • ติดต่อกองทุนพื้นที่
  • คลังความรู้
  • กองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กองทุนมาตรา 97(1)
  •     - การชดเชยรายได้
        - การอุดหนุนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาส
  • กองทุนมาตรา 97(2)
  • กองทุนมาตรา 97(3)
  •     - ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  • กองทุนมาตรา 97(4)
  • กองทุนมาตรา 97(5)
  • สื่อประชาสัมพันธ์
  • หนังสือพิมพ์
  •     - หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง
        - หนังสือพิมพ์ส่วนท้องถิ่น
  • โปสเตอร์ & Roll Up
  • แผ่นพับ
  • ภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์
  • สื่อวิทยุ
  • วิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์
  • ดาวน์โหลดเอกสาร
  • การนำส่งเงินสำหรับผู้ประกอบการ
  • กองทุน มาตรา 97(3)
  •     - แนวปฏิบัติในการเสนอแผนงานฯ 2560
        - แนวปฏิบัติในการเสนอแผนงานฯ 2561
        - แนวปฏิบัติในการเสนอแผนงานฯ 2562
        - แนวปฏิบัติในการเสนอแผนงานฯ 2563
        - แนวปฏิบัติในการเสนอแผนงานฯ 2564
        - เอกสารการดำเนินงาน กองทุน ก และ ข
        - เอกสารการดำเนินงานกองทุน ค
        - เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา
        - เอกสารเผยแพร่
        - เอกสารเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
        - ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ในพื้นที่
  • กองทุน มาตรา 97(4)
  • กองทุน มาตรา 97(5)
  • โลโก้กองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กองทุนพัฒนาไฟฟ้าอวอร์ด 2559
  • ซักซ้อมความเข้าใจ
  • คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี