หน้าแรก ความเป็นมาของเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3)
ความเป็นมาของเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3)
 

               เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97(3) หรือเงินกองทุนในพื้นที่ประกาศ เป็นเงินได้ที่ กกพ. เรียกเก็บจาก ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2552 เพื่อนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า โดยเรียกเก็บจาก

                              1. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า รายใหม่ หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตฯ ที่ได้รับใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือการตั้งโรงงานตั้งแต่วันที่ระเบียบ กกพ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำส่งเงินและการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้ามีผลบังคับใช้เป็นต้นไป นำส่งเงินเข้ากองทุน ดังนี้

                                             ช่วงระหว่างการก่อสร้าง (นับตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้าง จนถึงวันที่เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) ให้จ่ายเงินเป็นรายปีตามกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้า ในอัตรา 50,000 บาท/เมกะวัตต์/ปี 

                                             โดยในปีแรกให้จ่ายภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า สำหรับปีถัดปีถัดไปให้จ่ายภายใน 5 วันทำการแรกของปี

                                             ช่วงระหว่างการผลิตไฟฟ้า (นับตั้งแต่วันที่เริ่ม COD เป็นต้นไป) ให้จ่ายเงินเข้ากองทุนเป็นรายเดือนตามปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยจำแนกตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในอัตราดังนี้

อัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามมติ กพช.



                              2. ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า รายปัจจุบัน หมายถึง ผู้รับใบอนุญาตฯ ที่ได้รับใบอนุญาตในการปลูกสร้างอาคารหรือการตั้งโรงงานก่อนวันที่ระเบียบ กกพ. ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กำหนดให้จ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าเฉพาะช่วงระหว่างการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น 

                              3 ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายไฟฟ้านำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าเป็นรายเดือน โดยหักจากอัตราค่าบริการ ตามอัตราที่ กกพ. ประกาศกำหนด 

                              ทั้งนี้ปริมาณเงินที่นำส่งเข้ากองทุน จะต้องสอดคล้องกับการดำเนินงานของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสหรือให้มีการให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง หรือเพื่อส่งเสริมนโยบายในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค รวมทั้ง ต้องสอดคล้องกับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและแผนการลงทุนในกิจการไฟฟ้าตามที่ กพช. กำหนด โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะต้องรับภาระในการที่ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้านำส่งเงินเข้ากองทุนด้วย

                              โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) จะจัดสรรให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ จากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ตามมาตรา 97 (3) โดยแยกเป็นรายบัญชีตามโรงไฟฟ้า และให้ต่อท้ายด้วยชื่อของโรงไฟฟ้า หรือชื่อตำบล หรือชื่ออำเภอ หรือชื่อจังหวัดที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่



หลักการสำคัญในการบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า


กกพ. ได้กำหนดนโยบายในการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ โดยมีหลักการในการบริหารเงินกองทุน ดังนี้
               
               1. มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่ชุมชน เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาลโปร่งใส ตรวจสอบได้

               2. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน โดยชุมชนเพื่อชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างระบบสวัสดิการของประชาชนและชุมชนอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

               3. ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนภายในพื้นที่ประกาศ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการ การทำงานร่วมกันกับภาคีต่าง ๆ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ องค์กรชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน เป็นต้น

               4. ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล การเรียนรู้ การบริหารจัดการ การติดตามตรวจสอบ การประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชน การพัฒนาระบบข้อมูลระหว่างกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศทุกระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

               5. มีการชดเชยเพื่อเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ทั้งด้านสุขภาพ อาชีพ และสิ่งแวดล้อม

               6. ส่งเสริม สนับสนุน การฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังทางสังคม สุขภาวะ สิ่งแวดล้อม


แนวทางในการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

สำหรับเงินกองทุนในส่วนที่จัดสรรให้ใช้ในกิจการของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ประกาศที่โรงไฟฟ้าของผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้านั้น ๆ ตั้งอยู่นั้น ให้จัดสรรเป็น 2 ส่วน

                     ส่วนที่ 1 ไม่เกินร้อยละ 15 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการประจำปีสำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ


                     

ส่วนที่ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 เป็นเงินอุดหนุนการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า โดยการเสนอโครงการชุมชนเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ประกาศ

ตามระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้กำหนดให้ สกพ. ได้กันเงินไว้ไม่เกินร้อยละ 5 เพื่อดำเนินการในกิจการ ดังนี้

1. สำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายในเบื้องต้นจากผลกระทบที่มีสาเหตุจากโรงไฟฟ้าตามที่ กกพ. เห็นสมควร

2. อุดหนุนให้กับการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่ได้รับการจัดสรรเงินจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่น
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่จะสนับสนุนให้กับแต่ละท้องถิ่นให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามที่ กกพ. กำหนด

3. เพื่อการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า







หน้าแรก
กองทุนมาตรา 97(3)
  • ความเป็นมา
  • ประเภทของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กรอบการจัดสรรเงินกองทุน
  • ประเภทของการบริหารกองทุน
  • การสรรหา คพรฟ./คพรต.
  •     - ที่มาของ คพรฟ.
        - ที่มาของ คพรต.
        - ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา
        - เวทีประชาสัมพันธ์ระดับตำบล
        - เวทีประชาคมหมู่บ้าน
        - เวทีประชุมตำบล
        - ภาพการสรรหาคณะกรรมการกองทุน
  • การสรรหาผู้แทน กองทุน ค
  • ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  •     - รายละเอียดของแต่ละกองทุน
    การจัดทำแผนงานประจำปี
  • การจัดทำแผนงานประจำปี ของ คพรฟ.
  •     - การจัดทำแผนงานประจำปี
        - การสำรวจความต้องการของประชาชน
        - ประเภทโครงการชุมชนที่สามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุน
  • การจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการ
  • การพิจารณาโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน
        - แนวทางการพิจารณาแผนงาน
        - ประเด็นเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึง
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  •     - การจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • การดำเนินโครงการชุมชน
  •     - การจัดทำสัญญารับการสนับสนุน
        - แนวปฏิบัติด้านการเงิน
        - แนวปฏิบัติสำหรับการเบิกจ่ายเงินกองทุน
        - แนวทางการเก็บเอกสารทางการเงิน
        - แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การรับเงินและทรัพย์สิน
  •     - ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับเงินและทรัพย์สิน
    ผลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบฯ
  • พื้นที่ประกาศกองทุน
  •     - หลักการกำหนดพื้นที่ประกาศ
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ก
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ข
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ค
  • คณะกรรมการกองทุน
  •     - คำสั่งแต่งตั้ง คพรฟ.
        - คำสั่งแต่งตั้ง คพรต.
        - ผู้แทน กองทุน ค
  • กรอบงบประมาณ ที่ กกพ. อนุมัติ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการอนุมัติแผนงานฯ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการพิจารณาแผนงานฯ อื่น ๆ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
  • ผลการพิจารณางบประมาณเหลื่อมปี
  •     - กองทุนฯ ประเภท ก
        - กองทุนฯ ประเภท ข
    คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี